เป้าหมายการเรียนรู้รายสัปดาห์
: สามารถออกแบบวางแผนกระบวนการเรียนรู้
ได้อย่างเหมาะสมและน่าสนใจ
Week
|
input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
1
26 – 31
ต.ค. 58
|
โจทย์ : สร้างแรง / เรื่องที่อยากเรียนรู้
- เรื่องที่อยากเรียนรู้
- วางแผนการเรียนรู้
คำถาม
- นักเรียนเห็นอะไร จากการทดลอง
- นักเรียนจะตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้อย่างไรให้น่าสนใจ
-นักเรียนจะสามารถออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ได้อย่างไร
- นักเรียนจะออกแบบวางแผนการเรียนรู้ใน
Quarter นี้อย่างไรให้น่าสนใจ
เครื่องมือคิด - Round robin เกี่ยวกับการทดลองการร่อนวัสดุ - Black board share แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันสำหรับตั้งชื่อหน่วย และออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ - Think pair share เลือกชื่อหน่วยที่อยากเรียนรู้
-
Mind Mapping สรุปองค์ความรู้ก่อน
|
จันทร์
ชง : ครูนำวัสดุที่มีความแตกต่างกัน
เช่น เศษโฟม เศษไม้ ก้อนอิฐ แผ่นยาง ฟีเจอร์บอร์ด กระดาษ จาน ฯลฯ มาวางตรงหน้า
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด...
- นักเรียนเห็นอะไร
- นักเรียนคิดว่าวัสดุชนิดใดที่ร่อนอยู่ในอากาศได้ไกลและนานที่สุด
เพราะเหตุใด
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมกันแสดงความคิดเห็น (เครื่องมือคิด Round
robin)
และเขียนบันทึกสิ่งที่ตนเองคิดว่าสามารถร่อนอยู่บนอากาศได้ไกลและนานที่สุด
และออกแบบการทดลอง
ใช้ : ครูและนักเรียนทดสอบสมมุติฐาน โดยทำการทดสอบว่าวัสดุชนิดใดจะสามารถร่อนได้ไกลและนานที่สุด
โดยมีการจดบันทึกสถิติ
อังคาร
ชง :
ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนถึงการทดลองที่เกิดขึ้น
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด...
-
ปัจจัยใดที่ทำให้การคาดคะแนนของเราถูกต้อง/ไม่ถูกต้อง
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น (เครื่องมือคิด Round
robin)
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด...
-
นักเรียนมีหลักคิดในการออกแบบการทดลองอย่างไร
- วัสดุใดลอยไปไกลที่สุดเพราะอะไร
- ปัจจัยใดที่ทำให้วัสดุลอยไปไกล
เชื่อม : นักเรียน Brain Strom กลุ่มย่อย
ใช้ : นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนนำเสนอ
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด...
- นักเรียนตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ว่าอะไร
-
นักเรียนจะออกแบบปฏิทินการเรียนรู้อย่างไร
เชื่อม : นักเรียนเลือกชื่อหน่วยที่อยากเรียนรู้
(เครื่องมือคิด Think
pair share)
พุธ
ชง : ครูนำกระดาษมาให้นักเรียน
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด...
- นักเรียนเห็นอะไร
-
นักเรียนคิดว่าวัสดุเล่านี้จะร่อนได้ไกลโดยทำลายสถิติเดิมได้อย่างไร
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนสร้างเครื่องร่อนง่ายๆในแบบของตัวเอง
ใช้ : ครูและนักเรียนทดสอบ และจดบันทึก
โดยนำข้อมูลมาเทียบเคียงกับสถิติที่บันทึกไว้ในวันจันทร์
พฤหัสบดี
ชง : ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนถึงการทดลองเมื่อวานนี้
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด...
- นักเรียนเห็นอะไรจากการทดสอบครั้งนี้
-
เครื่องร่อนที่เราสร้างขึ้นใหม่สามารถทำลายสถิติได้หรือไม่
-
ปัจจัยใดที่ทำให้เราสามารถทำลายสถิติได้/ไม่ได้
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น (เครื่องมือคิด Round
robin)
ศุกร์
ชง : ครูขออาสาสมัครเพื่อทบทวนถึงสิ่งที่ผ่านมาตลอดสัปดาห์
มานำเสนอว่า เราทำอะไรบ้าง เกิดอะไรขึ้นบ้าง ได้เรียนรู้สิ่งใดบ้าง
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมนำเสนอความคิดเห็น (เครื่องมือคิด Round
robin)
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
- ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทดลอง
- ร่วมกันตั้งชื่อโครงงานที่น่าสนใจ
- ร่วมกันออกแบบปฏิทินการเรียนรู้
- นำเสนอปฏิทินการเรียนรู้
- เขียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ชิ้นงาน
- บันทึกผลการทดลอง
- ชื่อโครงการ
- ปฏิทินการเรียนรู้
- เครื่องร่อนในแบบของตัวเอง
- ตกแต่งห้องสร้างบรรยากาศ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้
สามารถออกแบบวางแผนกระบวนการเรียนรู้ ได้อย่างเหมาะสมและน่าสนใจ ทักษะ : ทักษะชีวิต - ออกแบบและเขียน Mind mapping / ปฏิทินได้ - ออกแบบกิจกรรมการเรียนได้อย่างน่าสนใจ - ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เช่นกระดาษ สี
ทักษะการสื่อสาร
- นำเสนอความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับผลการทดลอง
- นำเสนอชื่อโครงการ
และปฏิทินการเรียนรู้
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลจากทดลอง ทักษะการอยู่ร่วมกัน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
คุณลักษณะ
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น - กระตือรือร้นในการทำงาน และการทำกิจกรรมจนสำเร็จ - ทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย |
ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนรู้
พี่ ป.5 ช่วยกันวัดระยะการร่อนของวัสดุ


เตรียมนำเสนอผลการทดลอง และนำเสนอผลการทดลอง



ออกแบบปฏิทินการเรียนรู้
ชื่อหน่วยการเรียนรู้
ตัวอย่างชิ้นงาน




Mind Mapping ก่อนการเรียนรู้ (นักเรียน)
สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้


ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
บันทึกหลังการเรียนรู้
ตอบลบในสัปดาห์แรกนี้ คุณครูได้ให้พี่ๆ ป.5 ได้ร่วมกันทดลองเกี่ยวการร่อนวัสดุชนิดต่างๆ ได้แก่ เศษไม้อัด เศษกระเบื้อง ขวดพลาสติก ก้อนอิฐ โฟม ฟีเจอร์บอร์ด กระดาษ โดยพี่ ป.5 ได้แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มเป็นผู้ออกแบบการทดลองและออกแบบตารางบันทึกผลการทดลองเอง หลังจากนั้นได้มีการแลกเปลี่ยนผลการทดลองโดยให้แต่ละกลุ่มได้นำเสนอ พบว่าจากการทดลองของแต่ละกลุ่มได้ผลการทดลองที่มีความแตกต่างกัน เนื่องจากมีตัวแปรต่างๆที่แตกต่างกัน เช่น การออกแรงร่อนไม่เท่ากัน น้ำหนักของวัสดุไม่เท่ากัน รูปแบบการวัดผลแตกต่างกัน เป็นต้น หลังจากนั้นพี่ ป.5 ได้ร่วมกันวิเคราะห์สิ่งที่รู้แล้ว และสิ่งที่อยากเรียนรู้ และออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ โดยตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ว่า “ร่อนความคิด วิทยาศาสตร์”