เป้าหมายการเรียนรู้รายสัปดาห์
: เข้าใจกระบวนการตรวจสอบและอธิบายกลไกและความเกี่ยวข้องของปัจจัยด้านแรงลอยตัวและแรงพยุงของวัตถุ
ที่ส่งผลต่อการเคลื่อนที่ของเครื่องร่อนได้
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
6
30 พ.ย. – 4 ธ.ค. 58 |
โจทย์ : การวัดค่า (แน่นอน)
- น้ำหนักกับแรงลอยตัว
- น้ำหนักกับแรงพยุง
- ระยะทาง
คำถาม - นักเรียนคิดว่าน้ำหนักของวัตถุ ขณะที่ชั่งบนอากาศ และในน้ำจะมีความแตกต่างกันอย่างไร เพราะเหตุใด?
- นักเรียนคิดว่า
เมื่อวัตถุวางตัวอยู่ในของเหลวที่ต่างกันประกอบด้วย น้ำบริสุทธิ์ เอทิลแอลกอฮอล์ น้ำมันเบนซิน จะมีสภาพเป็นอย่างไร
เพราะเหตุใด ?
- นักเรียนสามารถวัดระยะทางของเครื่องร่อนได้อย่างไร?
เครื่องมือคิด - Flow chart สรุปการเรียนรู้ - Show share สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ Gmail สื่อ / อุปกรณ์ - การทดลอง “แรงลอยตัวของดินน้ำมัน”
- การทดลอง “แรงพยุงของวัตถุกับของเหลว”
- เครื่องมือวัด (ตลับเมตร ไม้บรรทัด เครื่องชั่งสปริง)
|
จันทร์
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด”นักเรียนคิดว่าน้ำหนักของวัตถุ
ขณะที่ชั่งบนอากาศ และในน้ำจะมีความแตกต่างกันอย่างไร เพราะเหตุใด?”
เชื่อม : นักเรียนและครูอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับคำถาม
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด ”นักเรียนคิดว่าถ้าปล่อยวัตถุสองชิ้นลงมาพร้อมกัน
ผลจะเป็นอย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น
- ครูและนักเรียนร่วมทดลองปล่อย วัตถุสองชิ้น และดูคลิปวีดีโอ “นาซ่าพิสูจน์กาลิเลโอ”
เชื่อม :
ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับการทดลองและคลิปวิดีโอที่ได้ชม
ใช้
: นักเรียนเขียนสรุปผลการทดลอง
อังคาร
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด”นักเรียนคิดว่า
เมื่อวัตถุวางตัวอยู่ในของเหลวที่ต่างกันประกอบด้วย น้ำบริสุทธิ์ เอทิลแอลกอฮอล์ น้ำมันเบนซิน จะมีสภาพเป็นอย่างไร
เพราะเหตุใด ?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ใช้ : ครูและนักเรียนร่วมทดลอง เรื่อง
แรงลอยตัวของดินน้ำมัน(การชั่งน้ำหนักในของเหลวและในอากาศ)
เชื่อม : อภิปรายรวมกันเกี่ยวกับการทดลอง
-
ทดลอง “แรงพยุงของวัตถุกับของเหลว”
(กำหนดให้ของเหลว เป็น น้ำบริสุทธิ์ เอทิลแอลกอฮอล์ น้ำมันเบนซิน )
เชื่อม : อภิปรายรวมกันเกี่ยวกับการทดลอง
ใช้ : นักเรียนเขียนสรุปผลการทดลอง
พุธ
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด”เพราะเหตุใด ทำไม
เราจึงต้องมีการวัดที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด”การวัดที่นักเรียนรู้จักมีการวัดแบบใดบ้าง?”
ใช้ : นักเรียนเขียนการวัดที่ตนเองรู้จัก
และนำเสนอในรูปแบบของแผ่นชาร์ต
พฤหัสบดี
ใช้ : ครูและนักเรียนร่วมทดลองวัดระยะทาง โดยนำเครื่องร่อนของตนเอง
มาร่วมทดลองและหาค่าต่างๆ
Ø วัดระยะทางจริงจากการทดลองร่อนเครื่องร่อน
Ø วัดระยะทางจากการทดลองด้วยเครื่องชั่งสปริง
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมตั้งคำถามและอภิปรายรวมกันเกี่ยวกับการทดลอง
ใช้ : นักเรียนเขียนสรุปผลการทดลองลงในกระดาษ A4
ศุกร์
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด”ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาเราได้เรียนรู้อะไรบ้าง
เครื่องร่อนของเราร่อนได้ไกลขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด?”
ใช้ : ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้
-
นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ในรูปแปบ Flow chart
|
ภาระงาน
- ทดลองและอภิปรายเกี่ยวกับแรงลอยตัว
- ทดลอง และอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับ“แรงพยุงของวัตถุกับของเหลว”
- ทดลองและอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับการวัดระยะทางและความสัมพันธ์ต่างๆ
- สรุปการเรียนรู้ในรูปแบบ
Flow chart
ชิ้นงาน - บันทึกผลการทดลอง
- Flow chart
สรุปการเรียนรู้ในรูปแบบ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ |
ความรู้: เข้าใจกระบวนการตรวจสอบและอธิบายกลไกและความเกี่ยวข้องของปัจจัยด้านแรงลอยตัวและแรงพยุงของวัตถุ
ที่ส่งผลต่อการเคลื่อนที่ของเครื่องร่อนได้
ทักษะ
ทักษะชีวิต - สามารถสร้างทางเลือกในการทำงานและเลือกสิ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานได้ ทักษะการสื่อสาร - มีความถูกต้องชัดเจนในการสื่อความหมายทั้งการพูด การเขียน และการแสดงออก ทักษะการจัดการข้อมูล - มีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่หลากหลาย - จำแนกและจัดหมวดหมู่สาเหตุของปัญหาได้ถูกต้องเหมาะสม
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น คุณลักษณะ - รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น - กระตือรือร้นในการทำงาน และการทำกิจกรรมจนสำเร็จ - ทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย |
ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนรู้









ตัวอย่างชิ้นงาน








ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์


ในสัปดาห์นี้ พี่ ป.5 ได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมาของการวัด และความสำคัญของการวัด
ตอบลบอีกทั้งยังได้เรียนรู้ถือมาตราการวัดแบบไทย และการวัดแบบสากล
นอกจากนี้แล้วยังได้นำความรู้เรื่องการวัดน้ำหนักมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหนาแน่นของมวลและแรงพยุง