เป้าหมายการเรียนรู้รายสัปดาห์
: เข้าใจและสามารถให้เหตุผลเกี่ยวกับปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อการเคลื่อนที่ของเครื่องร่อน
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
5
23 – 27
พ.ย. 58
|
โจทย์ : ปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลต่อการบิน
- แรงดันอากาศ
- ความกดอากาศ
คำถาม
-
เราปรับปรุงเครื่องร่อนเป็นอย่างดีแล้ว
แต่ในบางครั้งทำไมเครื่องร่อนยังบินไม่ตรง
-
นักเรียนคิดว่าอากาศมีน้ำหนักหรือไม่
- ทำไมที่สูงจึงมีอุณหภูมิต่ำ
เครื่องมือคิด
- Round robin เหตุใดเครื่องร่อนจึงบินไม่ตรง แม้จะปรับสมดุลให้ดีแล้ว
- Round robin อภิปรายร่วมกันถึงผลการทดลอง
- Mind mapping สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
สื่อ / อุปกรณ์
-
อุปกรณ์ทดลองแรงดันอากาศในขวดน้ำ
- อุปกรณ์ทดลองลูกโป่งกับท่อพีวีซี
-
อุปกรณ์ทดลองกระบอกฉีดน้ำแรงดันอากาศ
- อุปกรณ์ทดลองความกดอากาศจากสายยางพลาสติก
|
จันทร์
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
- “เหตุใดเครื่องร่อนจึงบินไม่ตรง
แม้จะปรับสมดุลให้ดีแล้ว?”
- “นักเรียนคิดว่าอากาศมีน้ำหนักหรือไม่?”
- “ทำไมที่สูงจึงมีอุณหภูมิต่ำ?”
เชื่อม : นักเรียนและครูอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับคำถาม
ชง : ครูนำอุปกรณ์ทดลองแรงดันอากาศในขวดน้ำมาแสดงให้นักเรียนดู
และตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
- “น้ำไหลออกมาจากรูที่เจาะในระดับต่างกัน
จะมีแรงดันเท่ากันหรือไม่?”
- รูน้ำรูใดสามารถพุ่งได้ไกล
เพราะเหตุใด?”
เชื่อม : นักเรียนและครูอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับการทดลอง
- นักเรียนทดลองแรงดันอากาศในขวดน้ำ
และบันทึกผลการทดลอง
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
- “จากผลการทดลองดังกล่าว ทำให้เราสังเกตเห็นอะไร?”
- “เรานำไปใช้ประโยชน์อย่างไรได้บ้าง?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับการนำความรู้ความเข้าใจจากการทดลองไปปรับใช้
ใช้ : นักเรียนเขียนสรุปผลการทดลอง ลงในแบบบันทึกผลการทดลอง
ชง : ครูนำอุปกรณ์ทดลองลูกโป่งกับท่อพีวีซี
มาแสดงให้นักเรียนดู
และตั้งคำถามกระตุ้นการคิดว่า “นักเรียนคิดว่าผลการทดลองจะเป็นอย่างไร
เพราะอะไร”
เชื่อม : นักเรียนและครูอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับคำถาม
-
นักเรียนทดลองลูกโป่งกับท่อพีวีซี และบันทึกผลการทดลอง
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
- “จากผลการทดลองดังกล่าว
ทำให้เรารู้อะไร?”
- “เรานำไปใช้ประโยชน์อย่างไรได้บ้าง?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับคำถาม
ใช้ : นักเรียนเขียนสรุปผลการทดลอง ลงในแบบันทึกผลการทดลอง
อังคาร
ชง : ครูนำอุปกรณ์ทดลองกระบอกฉีดน้ำแรงดันอากาศ
มาแสดงให้นักเรียนดู
และใช้คำถามกระตุ้นการคิด
“นักเรียนคิดว่าผลการทดลองจะเป็นอย่างไร
เพราะอะไร ?”
เชื่อม : นักเรียนและครูอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับคำถาม
- นักเรียนทดลองกระบอกฉีดน้ำแรงดันอากาศ
และบันทึกผลการทดลอง
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
- “จากผลการทดลองดังกล่าว
ทำให้เราสังกเกตเห็นอะไร?”
- “เรานำไปใช้ประโยชน์อย่างไรได้บ้าง?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับการทดลอง
ใช้ : นักเรียนเขียนสรุปผลการทดลอง ลงในใบบันทึกผลการทดลอง
ชง : ครูนำอุปกรณ์ทดลองความกดอากาศจากสายยางพลาสติกให้นักเรียนดู
และใช้คำถามกระตุ้นการคิด“นักเรียนคิดว่าผลการทดลองจะเป็นอย่างไร เพราะอะไร?”
เชื่อม : นักเรียนและครูอภิปรายร่วมกัน
- นักเรียนทดลองความกดอากาศจากสายยางพลาสติกและบันทึกผลการทดลอง
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “จากผลการทดลองดังกล่าว
ทำให้เราสังเกตเห็นอะไร และสามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างไร?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับผลการทดลอง
ใช้ : นักเรียนเขียนสรุปผลการทดลอง ลงในแบบบันทึกผลการทดลอง
พุธ
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
“เราจะนำความรู้เรื่องแรงดันอากาศ และความกดอากาศไปปรับปรุงการร่อนของเครื่องร่อนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร?”
ใช้ : นักเรียนเขียน Flow
chart ถึงแผนปรับปรุงเครื่องร่อนของตนเองพร้อมทั้งนำเสนอ
และอภิปรายร่วมกัน
พฤหัสบดี
ใช้ : นักเรียนปรับรุงเครื่องร่อนของตนเอง และนำเครื่องร่อนไปทดสอบว่ามีประสิทธิภาพดีกว่าเดิมหรือไม่
โดยเปรียบเทียบจากสถิติที่ได้จดบันทึกไว้
เชื่อม : นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับเครื่องร่อน
ใช้ : นักเรียนนำประสบการณ์และชุดข้อมูลที่เหมาะสมจากการอภิปรายมาปรับปรุงเครื่องร่อนของตนเอง
ศุกร์
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด ”ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาเราได้เรียนรู้อะไรบ้าง
และเครื่องร่อนของเราร่อนได้ไกลขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำถาม
ใช้ : ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
- อภิปรายเกี่ยวกับปัจจัยที่ทำให้เครื่องร่อนบินไม่ตรง
-
อภิปรายถึงผลการทดลองแรงดันอากาศและความกดอากาศ
ชิ้นงาน
- เครื่องร่อน
- บันทึกผลการทดลอง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้ :
เข้าใจและสามารถให้เหตุผลเกี่ยวกับปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อการเคลื่อนที่ของเครื่องร่อน
ทักษะ
ทักษะการสื่อสาร พูดและสื่อสารแสดงความคิดเห็นให้ผู้อื่นเกิดความเข้าใจ ทักษะการจัดการข้อมูล สามารถวิเคราะห์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยเหตุผลจากการทดลอง ทักษะการอยู่ร่วมกัน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น คุณลักษณะ - รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น - กระตือรือร้นในการทำงาน
-
มีความสุขในการได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
|
ประมวลภาพกิจกรรม
- ออกแบบเครื่องร่อนโดยใช้วัสดุธรรมชาติ และ เศษวัสดุเหลือใช้






- ทดลอง ความดันอากาศ ความกดอากาศ ที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของเครื่องร่อน








ในสัปดาห์นี้ พี่ ป.5 ได้เรียนรู้เรื่องความกดอากาศ แรงดันอากาศ
ตอบลบซึ่งเป็นอีกตัวแปรหนึ่งที่ส่งผลต่อเครื่องร่อน
โดยได้ทำการเรียนรู้ผ่านการทดลอง
เพื่อให้เห็นภาพอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น
และนำไปสู่การพัฒนาเครื่องร่อนในลำดับต่อไป