เป้าหมายการเรียนรู้รายสัปดาห์
: เข้าใจและสามารถอธิการตรวจสอบความสมดุลของเครื่องร่อน
ผ่านการสร้างเครื่องมือที่สามารถใช้ตรวจสอบได้จริง
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
4
16 – 20
พ.ย. 58
|
โจทย์ : ไขปริศนา บินได้ไม่ตรง?
- ความสมดุลของโครงสร้าง
คำถาม
-
ทำไมโมเดลนกถึงทรงตัวอยู่ได้บนนิ้ว
- เราจะออกแบบให้เครื่องร่อนเกิดความสมดุลได้อย่างไร
เครื่องมือคิด
- Round robin โมเดลนกทรงตัวอยู่บนนิ้วได้อย่างไร
- Round robin
ออกแบบวิธีตรวจสอบความสมดุลของเครื่องร่อน
- Think pair share ปัจจัยที่ทำให้เครื่องร่อนบินไม่ตรง
- Mind mapping สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
สื่อ / อุปกรณ์ - โมเดลนกเซรามิก
- เครื่องร่อน
|
จันทร์
ชง : ครูนำโมเดลนกมาว่าไว้ที่มือ
แล้วตั้งคำถามกระตุ้นการคิดว่า “เพราะเหตุใดนกเซรามิกจึงทรงตัวอยู่บนนิ้วได้”
เชื่อม : นักเรียนและครูร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็น
ชง : ครูนำว่าวมาให้นักเรียนดู และตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
“การใส่หูของเว้ามีส่วนสำคัญหรือไม่อย่างไร ?”
และ “การผูกเชือกที่ตัวเว้า เราต้องคำนึงถึงสิ่งใดบ้าง เพราะอะไร?”
เชื่อม : นักเรียนและครูอภิปรายร่วมกัน
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ความสมดุลของเครื่องร่อน
จะสามารถทำให้เครื่องร่อนร่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ อย่างไร”
เชื่อม : นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
“เราจะมีวิธีการตรวจสอบความสมดุลของเครื่องร่อนของเราได้อย่างไร”
ใช้ : นักเรียนออกแบบวิธีการตรวจสอบความสมดุลของเครื่องร่อน พร้อมทั้งเตรียมนำเสนอแนวคิดของตนเอง
อังคาร
เชื่อม : นักเรียนนำเสนอแนวคิดในการตรวจสอบความสมดุลของเครื่องร่อนของตนเอง
- นักเรียนและครูอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบความสมดุลของเครื่องร่อน
ใช้ : นักเรียนทำการตรวจสอบความสมดุลของเครื่องร่อนของตนเอง
พร้อมทั้งบันทึกผลการตรวจสอบ
เชื่อม : นักเรียนนำเสนอผลการตรวจสอบ
และแผนวิธีการปรับปรุงเครื่องร่อนของตนเองในขั้นต่อไป
พุธ – พฤหัสบดี
ใช้ : นักเรียนปรับปรุงเครื่องร่อนของตนเอง และนำเครื่องร่อนไปทดสอบว่ามีประสิทธิภาพดีกว่าเดิมหรือไม่
โดยเปรียบเทียบจากสถิติที่ได้จดบันทึกไว้
เชื่อม : ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับการทดสอบเครื่องร่อน
ใช้ : นักเรียนนำประสบการณ์และชุดข้อมูลที่เหมาะสมจากวงอภิปรายมาปรับปรุงเครื่องร่อนของตนเอง
ศุกร์
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด ”ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาเราได้เรียนรู้อะไรบ้าง
เครื่องร่อนของเราร่อนได้ไกลขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด”
ใช้ : นักเรียนสรุปผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์ พร้อมนักเรียนนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้
|
ภาระงาน
- อภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับการทรงตัวของนกเซรามิกและความสมดุลของวัสดุต่างๆ
-
ออกแบบและนำเสนอผลการตรวจสอบความสมดุลของวัสดุ
-
อภิปรายถึงปัจจัยที่ทำให้เครื่องร่อนบินไม่ตรง
-
ออกแบบวิธีการตรวจสอบความสมดุลของเครื่องร่อน
- ปรับปรุงเครื่องร่อนของตนเอง
ชิ้นงาน
- เครื่องร่อน
-
สรุปผลการตรวจสอบและวิธีวัดความสมดุล
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้ : เข้าใจและสามารถอธิการตรวจสอบความสมดุลของเครื่องร่อน
ผ่านการสร้างเครื่องมือที่สามารถใช้ตรวจสอบได้จริง
ทักษะ
ทักษะชีวิต
-
มีความตั้งใจในการทำงานให้แล้วเสร็จ
- เกิดความภาคภูมิใจในพัฒนาการของผลงานของตนเอง
- ออกแบบเครื่องทอดสอบความสมดุลของวัสดุ
ทักษะการสื่อสาร
- พูดนำเสนอแนวความคิดของตนเอง
ทักษะการจัดการข้อมูล
- นำความรู้เรื่องความสมดุลมาปรับปรุงเครื่องร่อนของตนเอง ทักษะการอยู่ร่วมกัน - ร่วมรับฟัง แสดงความคิดเห็น กับผู้อื่น
- ทำงานร่วมกันผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
คุณลักษณะ - รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น - กระตือรือร้นในการทำงาน
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- กระตือรือร้นในการทำงาน และการทำกิจกรรมจนสำเร็จ |
ประมวลภาพกิจกรรม




- สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับความสมดุล พร้อมนำเสนอ
- ออกแบบเครื่องร่อนและทดสอบความสมดุล






สัปดาห์นี้ พี่ ป. 5 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับความสมดุล ซึ่งส่งผลต่อการร่อนที่มีประสิทธิภาพของเครื่องร่อน
ตอบลบอีกทั้งยังได้เชื่อมโยงไปยังความสมดุลของสิ่งต่างๆรอบๆตัว เช่น ความสมดุลของสถาปัตยกรรม ความสมดุลของร่างกาย
โดยพี่ ป.5 ได้ออกแบบวิธีการวัดความสมดุลของเครื่องร่อนโดยการนำเครื่องร่อนมาแขวนไว้ ณ จุดศูนย์กลาง
หากเครื่องร่อนเอียงไปในทิศทางใด แสดงว่าเครื่องร่อนยังไม่มีความสมดุล
จะต้องทำการปรับปรุงแก้ไขให้เกิดความสมดุลยิ่งขึ้น