เป้าหมาย (Understanding Goal) : เข้าใจและสามารถอธิบายกระบวนการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ ผ่านการลงมือปฏิบัติได้อย่างสมเหตุสมผล และนำมาปรับประยุกต์เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ที่สร้างสรรค์ได้

Week1

เป้าหมายการเรียนรู้รายสัปดาห์ : สามารถออกแบบวางแผนกระบวนการเรียนรู้ ได้อย่างเหมาะสมและน่าสนใจ
Week
input
Process
Output
Outcome
1
26 – 31
ต.ค. 58
โจทย์ : สร้างแรง /  เรื่องที่อยากเรียนรู้                                       
- เรื่องที่อยากเรียนรู้
- วางแผนการเรียนรู้

คำถาม
- นักเรียนเห็นอะไร จากการทดลอง
- นักเรียนจะตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้อย่างไรให้น่าสนใจ
-นักเรียนจะสามารถออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ได้อย่างไร
- นักเรียนจะออกแบบวางแผนการเรียนรู้ใน  Quarter  นี้อย่างไรให้น่าสนใจ

เครื่องมือคิด      
-
Round robin เกี่ยวกับการทดลองการร่อนวัสดุ
-
Black board share แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันสำหรับตั้งชื่อหน่วย และออกแบบปฏิทินการเรียนรู้
-
Think pair share เลือกชื่อหน่วยที่อยากเรียนรู้
- Mind Mapping สรุปองค์ความรู้ก่อน
จันทร์
ชง : ครูนำวัสดุที่มีความแตกต่างกัน เช่น เศษโฟม เศษไม้ ก้อนอิฐ แผ่นยาง ฟีเจอร์บอร์ด กระดาษ จาน ฯลฯ มาวางตรงหน้า
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด...
- นักเรียนเห็นอะไร
- นักเรียนคิดว่าวัสดุชนิดใดที่ร่อนอยู่ในอากาศได้ไกลและนานที่สุด เพราะเหตุใด
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมกันแสดงความคิดเห็น (เครื่องมือคิด Round robin) และเขียนบันทึกสิ่งที่ตนเองคิดว่าสามารถร่อนอยู่บนอากาศได้ไกลและนานที่สุด และออกแบบการทดลอง
ใช้ : ครูและนักเรียนทดสอบสมมุติฐาน โดยทำการทดสอบว่าวัสดุชนิดใดจะสามารถร่อนได้ไกลและนานที่สุด โดยมีการจดบันทึกสถิติ

อังคาร
ชง :  ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนถึงการทดลองที่เกิดขึ้น
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด...
- ปัจจัยใดที่ทำให้การคาดคะแนนของเราถูกต้อง/ไม่ถูกต้อง
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น (เครื่องมือคิด Round robin)
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด...
- นักเรียนมีหลักคิดในการออกแบบการทดลองอย่างไร
- วัสดุใดลอยไปไกลที่สุดเพราะอะไร
- ปัจจัยใดที่ทำให้วัสดุลอยไปไกล
เชื่อม : นักเรียน Brain Strom กลุ่มย่อย
ใช้ : นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนนำเสนอ
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด...
- นักเรียนตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ว่าอะไร
- นักเรียนจะออกแบบปฏิทินการเรียนรู้อย่างไร
เชื่อม : นักเรียนเลือกชื่อหน่วยที่อยากเรียนรู้ (เครื่องมือคิด Think pair share)

พุธ
ชง : ครูนำกระดาษมาให้นักเรียน
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด...
- นักเรียนเห็นอะไร
- นักเรียนคิดว่าวัสดุเล่านี้จะร่อนได้ไกลโดยทำลายสถิติเดิมได้อย่างไร
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนสร้างเครื่องร่อนง่ายๆในแบบของตัวเอง
ใช้ : ครูและนักเรียนทดสอบ และจดบันทึก โดยนำข้อมูลมาเทียบเคียงกับสถิติที่บันทึกไว้ในวันจันทร์

พฤหัสบดี
ชง : ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนถึงการทดลองเมื่อวานนี้
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด...
- นักเรียนเห็นอะไรจากการทดสอบครั้งนี้
- เครื่องร่อนที่เราสร้างขึ้นใหม่สามารถทำลายสถิติได้หรือไม่
- ปัจจัยใดที่ทำให้เราสามารถทำลายสถิติได้/ไม่ได้
 เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น (เครื่องมือคิด Round robin)

ศุกร์
ชง : ครูขออาสาสมัครเพื่อทบทวนถึงสิ่งที่ผ่านมาตลอดสัปดาห์ มานำเสนอว่า เราทำอะไรบ้าง เกิดอะไรขึ้นบ้าง ได้เรียนรู้สิ่งใดบ้าง
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมนำเสนอความคิดเห็น (เครื่องมือคิด Round robin)
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทดลอง
- ร่วมกันตั้งชื่อโครงงานที่น่าสนใจ
- ร่วมกันออกแบบปฏิทินการเรียนรู้
- นำเสนอปฏิทินการเรียนรู้
- เขียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ชิ้นงาน
- บันทึกผลการทดลอง
- ชื่อโครงการ
- ปฏิทินการเรียนรู้
- เครื่องร่อนในแบบของตัวเอง
- ตกแต่งห้องสร้างบรรยากาศ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
สามารถออกแบบวางแผนกระบวนการเรียนรู้ ได้อย่างเหมาะสมและน่าสนใจ
ทักษะ
:
ทักษะชีวิต
- ออกแบบและเขียน Mind mapping / ปฏิทินได้
-
ออกแบบกิจกรรมการเรียนได้อย่างน่าสนใจ
- ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เช่นกระดาษ สี
ทักษะการสื่อสาร
- นำเสนอความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับผลการทดลอง
- นำเสนอชื่อโครงการ และปฏิทินการเรียนรู้
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลจากทดลอง
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
คุณลักษณะ
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- กระตือรือร้นในการทำงาน  และการทำกิจกรรมจนสำเร็จ
- ทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย







ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนรู้

พี่ ป.5 ช่วยกันวัดระยะการร่อนของวัสดุ


                      เตรียมนำเสนอผลการทดลอง และนำเสนอผลการทดลอง

 ออกแบบปฏิทินการเรียนรู้


 ชื่อหน่วยการเรียนรู้


ตัวอย่างชิ้นงาน
 


 


Mind Mapping ก่อนการเรียนรู้ (นักเรียน)



สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ 

 

ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการเรียนรู้
    ในสัปดาห์แรกนี้ คุณครูได้ให้พี่ๆ ป.5 ได้ร่วมกันทดลองเกี่ยวการร่อนวัสดุชนิดต่างๆ ได้แก่ เศษไม้อัด เศษกระเบื้อง ขวดพลาสติก ก้อนอิฐ โฟม ฟีเจอร์บอร์ด กระดาษ โดยพี่ ป.5 ได้แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มเป็นผู้ออกแบบการทดลองและออกแบบตารางบันทึกผลการทดลองเอง หลังจากนั้นได้มีการแลกเปลี่ยนผลการทดลองโดยให้แต่ละกลุ่มได้นำเสนอ พบว่าจากการทดลองของแต่ละกลุ่มได้ผลการทดลองที่มีความแตกต่างกัน เนื่องจากมีตัวแปรต่างๆที่แตกต่างกัน เช่น การออกแรงร่อนไม่เท่ากัน น้ำหนักของวัสดุไม่เท่ากัน รูปแบบการวัดผลแตกต่างกัน เป็นต้น หลังจากนั้นพี่ ป.5 ได้ร่วมกันวิเคราะห์สิ่งที่รู้แล้ว และสิ่งที่อยากเรียนรู้ และออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ โดยตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ว่า “ร่อนความคิด วิทยาศาสตร์”

    ตอบลบ