เป้าหมาย (Understanding Goal) : เข้าใจและสามารถอธิบายกระบวนการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ ผ่านการลงมือปฏิบัติได้อย่างสมเหตุสมผล และนำมาปรับประยุกต์เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ที่สร้างสรรค์ได้

Week 3

เป้าหมายการเรียนรู้รายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถอธิบายถึงแรงเสียดทานและคุณสมบัติต่างๆของวัสดุได้ พร้อมทั้งสามารถประยุกต์เอาความรู้เรื่องแรงเสียดทาน และคุณสมบัติของวัสดุมาปรับปรุงเครื่องร่อนได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
3
9 – 13
ต.ค. 58
โจทย์ : ไขปริศนา บินไม่ไกล ?
- แรงเสียดทาน
- วัสดุ และคุณสมบัติของวัสดุ

คำถาม
- ลูกข่างหยุดหมุนเพราะอะไร
- ถ้านำลูกข่างไปหมุนอยู่นอกโลกจะเป็นอย่างไร
- เพราะอะไรโลกจึงไม่หยุดหมุน
- แรงเสียดทานส่งผลต่อการร่อนของเครื่องร่อนหรือไม่อย่างไร
- วัสดุต่างๆมีคุณสมบัติเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
- เราจะนำความรู้เรื่องแรงเสียดทาน และเรื่องคุณสมบัติของวัสดุไปปรับปรุงการร่อนของเครื่องร่อนได้อย่างไร

เครื่องมือคิด      
-
Round robin เกี่ยวกับลูกข่าง และแรงเสียดทาน
- Think pair share เรื่องแรงเสียดทาน
- Round robin เกี่ยวกับผลการทดสอบคุณสมบัติของวัสดุ
-  Think pair share แนวคิดการปรับปรุงเครื่องร่อนของตนเองหลังจากเรียนรู้เรื่องแรงเสียดทางและคุณสมบัติของวัสดุ
จันทร์
ชง : ครูนำลูกข่างมาหมุน และใช้คำถามกระตุ้นการคิด
- “ลูกข่างหยุดหมุนเพราะอะไร ?”
- “ถ้าเรานำลูกข่างไปหมุนอยู่นอกโลกจะเป็นอย่างไร ?”
- “โลกไม่หยุดหมุนเพราะอะไร ?”
เชื่อม : นักเรียนและครูแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
- นักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่มสืบค้นข้อมูลเรื่องแรงเสียดทาน
ใช้ : นักเรียนแต่ละกลุ่มจัดระบบข้อมูลที่ได้สืบค้น และนำเสนอในรูปแบบแผ่นชาร์ต
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้

อังคาร
ชง : ครูนำวัสดุได้ แก่ ยาง พลาสติก แก้ว กระเบื้อง ทองแดง  ไม้ มาให้นักเรียนดู และใช้คำถามกระตุ้นการคิด“วัสดุเหล่านี้เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ?”
เชื่อม : นักเรียนอภิปรายร่วมกัน และออกแบบการทดลองเกี่ยวกับคุณสมบัติของวัสดุแต่ละชนิด
ใช้ : ครูและนักเรียนร่วมทดลองคุณสมบัติของวัสดุ  พร้อมบันทึกผลการทดลอง
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด...”ความแตกต่างกันของคุณสมบัติของวัสดุ ส่งผลต่อการเคลื่อนที่ไปในอากาศของเครื่องร่อนหรือไม่ อย่างไร ?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “เราจะนำความรู้เรื่องแรงเสียดทาน และเรื่องคุณสมบัติของวัสดุไปปรับปรุงการร่อนของเครื่องร่อนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร”
ใช้ : นักเรียนเขียน Flow chart ถึงแผนปรับปรุงเครื่องร่อนของตนเองพร้อมทั้งนำเสนอ และอภิปรายร่วมกัน

พุธพฤหัสบดี
ใช้ : นักเรียนปรับรุ่งเครื่องร่อนของตนเอง และนำเครื่องร่อนไปทดสอบว่ามีประสิทธิภาพดีกว่าเดิมหรือไม่ โดยเปรียบเทียบจากสถิติที่ได้จดบันทึกไว้
เชื่อม : นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับเครื่องร่อน
ใช้ : นักเรียนนำประสบการณ์และชุดข้อมูลที่เหมาะสมจากวงอภิปรายมาปรับปรุงเครื่องร่อนของตนเอง

ศุกร์
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด...”ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาเราได้เรียนรู้อะไรบ้าง และเครื่องร่อนของเราร่อนได้ไกลขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำถาม
ใช้ : ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- ทดลองการหมุนของลูกข่าง
- ทดสอบคุณสมบัติของวัสดุ
- ค้นคว้าและนำเสนอความรู้เรื่องแรงเสียดทาน
- ปรับปรุงเครื่องร่อน และเปรียบเทียบผลการร่อน
- สรุปการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
ชิ้นงาน
- เครื่องร่อน
- แบบบันทึกผลการทดลองคุณสมบัติของวัสดุ
- สรุปผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายถึงแรงเสียดทานและคุณสมบัติต่างๆของวัสดุได้ พร้อมทั้งสามารถประยุกต์เอาความรู้เรื่องแรงเสียดทาน และคุณสมบัติของวัสดุมาปรับปรุงเครื่องร่อนได้

ทักษะ
:
ทักษะชีวิต
- มีความตั้งใจในการทำงานให้แล้วเสร็จ
- เกิดความภาคภูมิใจกับผลงานของตนเอง
ทักษะการสื่อสาร
- พูดนำเสนอแนวคิดของตนเองให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
- นำความรู้เรื่องแรงเสียดทาน และคุณสมบัติของวัสดุมาปรับปรุงเครื่องร่อนของตนเองได้อย่างเหมาะสม
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- ร่วมรับฟัง และแสดงความคิดเห็นกับผู้อื่น
- ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
คุณลักษณะ
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- กระตือรือร้นในการทำงาน  และการทำกิจกรรมจนสำเร็จ








ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนรู้
- ทดลองเกี่ยวกับคุณสมบัติของวัสดุต่างๆ 



 - นำความเข้าใจจากการเลือกวัสดุ มาปรับเพื่ออกแบบ เตชครื่องร่อน ตัวที่ 3
  

 - หลังจากออกแบบเรียนร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาประดิษฐ์และนำมาทดลองร่อนดู ค่ะ

- อภิปรายและสรุปร่วมกัน


ตัวอย่างชิ้นงาน


 

  

  

ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์


  







1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้พี่ ป.5 ได้สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับแรงประเภทต่างๆที่ส่งผลต่อเครื่องร่อน
    และยังได้วิเคราะห์คุณสมบัติของวัสดุชนิดต่างๆที่มีความเหมาะสมสำหรับนำมาทำเครื่องร่อน

    โดยมีเรียนรู้ร่วมกันผ่านกระบวนการทดลองทางวิทยาศาสตร์
    ซึ่ง ป.5 ให้ความสนใจและตื่นเต้นกับทุกๆการทดลอง

    และความรู้ที่ได้ในสัปดาห์นี้ก็ทำให้เครื่องร่อนของแต่ละคนมีประสิทธิภาพในการร่อนมากยิ่งขึ้น
    จะเห็นได้จากการออกแบบเครื่องร่อนของแต่ละคนนั้นจะตั้งอยู่บนฐานความรู้ที่ตนเองมี ซึ่งมีเพิ่มมากขึ้นทุกๆสัปดาห์

    ตอบลบ